ปรับปรุงล่าสุด 3 เม.ย. 2024 08:31:50 663

ประวัติความเป็นมา
       องค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง ที่ตั้ง 255 หมู่ที่ 5 ตำบลสำโรง อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดตั้งเป็นสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2537 โดยนายอนงค์ เรืองเนตร กำนันตำบลสำโรง ดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการบริหารสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง โดยตำแหน่งเป็นคนแรก และมีนายประเสริฐ แก้วเนตร ผู้ใหญ่บ้านบ้านร่องคันแยง ดำรงตำแหน่งประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง และมีนายทุ้ม ภาระเวช ดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง  มีนายบุญมา บุญทนต์ อาจารย์โรงเรียนบ้านนาหว้าใต้ ดำรงตำแหน่งเป็นเลขานุการ ซึ่งในขณะนั้นตำบลสำโรง มีเขตพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 8 หมู่บ้าน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2540 ได้ยกฐานะจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสำโรงเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง โดยมีนายอนงค์ เรืองเนตร ดำรงตำแหน่งเป็นประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสำโรงครบวาระ 4 ปี ในปี พ.ศ. 2545 ได้มีการแต่งตั้งประธานกรรมการบริหารจากการเลือกสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง คือ นายสมัย เรืองเนตร และในปี พ.ศ. 2546 ได้มีการแต่งตั้งประธานกรรมการบริหารขึ้นเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง ในปี 2548 ได้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสำโรงโดยตรงจากประชาชนมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสำโรงคนแรกคือ นายสมัย เรืองเนตร และมีหมู่บ้านในเขตพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 11 หมู่บ้าน ในปี พ.ศ.2552 ได้ดำรงตำแหน่งจนครบวาระ ต่อมาปี พ.ศ 2556 ได้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง ซึ่ง นายณัฐพงษ์  ศรีกฤต ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง และต่อมาในปี 2564 ได้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสำโรงอีกครั้ง ได้นายสมัย เรืองเนตร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง  เป็นผู้ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง คนปัจจุบัน

สภาพื้นที่
       สภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบภูเขาสูงและความชุ่มชื้นเหมาะแก่การเพาะปลูกและเลั้ยงสัตว์ การประกอบอาชีพของราษฎรมีอาชีพทำนาและเลี้ยงสัตว์
อาชีพ
       อาชีพหลัก ทำนา เลี้ยงสัตว์
       อาชีพเสริม สวนผลไม้
สาธารณูปโภค
       ทุกหมู่บ้านมีน้ำประปา ไฟฟ้า และมีโทรศัพท์บริการ
การเดินทาง
       ออกจากจังหวัดอุบลราชธานีตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2050 (อุบล-เขมราฐ) เลี้ยวบ้านห้วยยางเดินทางเข้าที่ว่าการอำเภอโพธิ์ไทร ระยะทาง 95 กม. จากอำเภอเดินทางถึงตำบลสำโรงตามถนนสายยุทธศาสตร์ระยะทาง 30 กม. มีรถประจำทางวันละ 2 เที่ยว
ผลิตภัณฑ์
      ผ้าลายกาบบัว และผ้าไหม

ตราสัญลักษณ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง

       ตราสัญลักษณ์ เป็นรูปวงกลมสองวง โดยมีรูปเสาเฉลียงอยู่ตรงกลาง แต่ละส่วนของสัญลักษณ์มีความหมายดังนี้

       เสาเฉลียง หมายถึง เสาหินคู่ขนาดใหญ่ 12 เมตร วัดโดยรอบ 36 เมตร ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นสัญลักษณ์ที่บอกถึงศูนย์รวมจิตใจของคนในเขตพื้นที่ ความเชื่อ ความศรัทธา
วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของคนในเขตตำบลสำโรง
       ความหมายโดยรวมของตราสัญลักษณ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง หมายถึง เป็นจุดศูนย์รวมจิตใจของประชาชนในพื้นที่ สร้างความสามัคคี ความเข้มแข็ง
ของประชาชน เพื่อนำพาความเจริญทุก ๆ ด้าน ด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม

       สีประจำองค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง คือ สีเขียว กับสีเหลือง
               สีเขียว    หมายถึง ความชุ่มชื้น ความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้พืชพันธุ์นานาชนิด
               สีเหลือง  หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง ความมั่งคั่ง ความสามัคคีของคนในตำบลสำโรง