ภารกิจอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามกฎหมายจัดตั้ง
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ (แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๖๒)
มาตรา ๖๗ หน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
(๑) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
(๑/๑) รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย การดูแลการจราจร และส่งเสริมสนับสนุนหน่วยงานอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
(๒) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(๓) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
(๔) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๕) จัดการ ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และการฝึกอบรมให้แก่ประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็กตามแนวทางที่เสนอแนะจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
(๖) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
(๗) คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๘) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
(๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร
มาตรา ๖๘ อาจทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
(๑) ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร
(๒) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
(๓) ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
(๔) ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ
(๕) ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์
(๖) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
(๗) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร
(๘) การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
(๙) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล
(๑๐) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
(๑๑) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
(๑๒) การท่องเที่ยว
(๑๓) การผังเมือง
จุดมุ่งหมายการพัฒนา
– พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบล
– พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ได้มาตรฐาน สังคมสงบสุข เป็นระเบียบเรียบร้อย
– พัฒนาเศรษฐกิจให้ประชาชนกินดี อยู่ดี มีงานทำ มีรายได้ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
– พัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
– พัฒนาการเมืองและการบริหารจัดการองค์กร
พันธกิจ (MANDATE)
องค์การบริหารส่วนตำบลสำโรงได้วิเคราะห์สภาพปัญหา ความต้องการ และศักยภาพ จนทราบถึงสถานภาพวิสัยทัศน์และจุดมุ่งหมายการพัฒนา จึงได้กำหนดข้อผูกพันที่มุ่งมั่นที่จะดำเนินการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ดังนี้
– การพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ ปลอดภัย มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน
– สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีตามความจำเป็นขั้นพื้นฐาน
– ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของคน ครอบครัว และชุมชนในการพึ่งพาตนเอง
– จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด
– พัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐแบบบูรณาการและกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน
Last modified: 5 เมษายน 2022